.....ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก ชีววิทยา Biology ของนายศรีสุทัศ กุลชาติ คับ.....

อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)



BIOLOGY

อนุกรมวิธานพืชหรือการจัดจำแนกพวกพืช เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการจัดพืชออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ โดยอาศัยลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกัน พืชที่มีลักษณะคล้ายกันจึงจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันหรือกลุ่มที่ใกล้เคียงกัน
การจัดจำแนกพวกพืชนี้ ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ การระบุ (identification), การตั้งชื่อ (nomenclature) และการจำแนก (classification) การระบุเป็นการกำหนดว่าพืชที่นำมาศึกษานั้นเป็นพืชชนิดใด เมื่อนำส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ใบ, ดอก, ราก มาเปรียบเทียบกับพืชที่ได้มีการศึกษา ไว้แล้ว การตั้งชื่อเป็นการให้ชื่อที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การตั้งชื่อพืชหรือกลุ่มพืชที่นำมาศึกษา ส่วนการจำแนกพืชนั้นเป็นการจัดรวบรวมพืชหรือกลุ่มพืชออกเป็นลำดับ ตามที่ได้มีการจัดแบ่งไว้แล้ว

วิสัยพืช (Plant Habit)
ส่วนประกอบของพืช (Parts of Plant)


วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


วิสัยพืช (Plant Habit)
ไม้เถา / ไม้ล้มลุก / ไม้พุ่ม / ไม้ต้น
ลักษณะวิสัยของพืช คือลักษณะของลำต้น เป็นอวัยวะของพืชที่เจริญมาจากส่วนของเอ็มบริโอที่อยู่เหนือรากแรกเกิดภายในเมล็ด โดยเจริญมาจากส่วนของลำต้นเหนือใบเลี้ยง (epicotyl) ซึ่งมียอดแรกเกิด (plumule) เจริญแบ่งเซลล์ไปเรื่อยๆ ทำให้ลำต้นสูงขึ้นและเกิดยอดใหม่ รวมทั้งลำต้นส่วนใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl) ด้วย ลำต้นส่วนใหญ่เจริญขึ้นสู่อากาศในทิศทางตรงข้ามกับแรงดึงดูดของโลก ทำหน้าที่หลักของลำต้น ได้แก่ สร้างใบ ค้ำกิ่งก้านสาขาให้ใบได้รับแสง เป็นทางลำเลียงน้ำและธาตุอาหารจากใบไปสู่ส่วนต่างๆ ของพืช และสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ นอกจากนี้ลำต้นยังทำหน้าที่พิเศษอื่นๆ เช่น สะสมอาหาร สังเคราะห์แสง ดู <ลำต้นที่ทำหน้าที่พิเศษหรือเปลี่ยนรูปร่างไป>
ลักษณะวิสัย แบ่งเป็นไม้ล้มลุก (herb) ซึ่งอาจเป็นมีอายุปีเดียว (annual plant) สองปี (biennial plant) หรือพืชหลายปี (perennial plant) ก็ได้ ส่วนพืชที่มีเนื้อไม้ (woody plant) ที่ลำต้นมีกลุ่มเนื้อเยื่อที่ให้ความแข็งแรง อายุการเจริญเติบโตมีช่วงยาวกว่าไม้ล้มลุก เช่นไม้พุ่ม (shrub) ไม้ต้น (tree)  ส่วนไม้เถาหรือไม้เลื้อย (climber)
มีทั้งแบบล้มลุก และมีเนื้อไม้
climber

ราก (Roots)
ราก คืออวัยวะของพืชที่เจริญมาจากรากแรกเกิด (radical) ของเอ็มบริโอภายในเมล็ด ปกติเจริญลงไปในดินตามทิศทางแรงดึงดูดของโลก รากไม่มีข้อและปล้อง
รากแก้ว (Tap Root) หรือรากปฐมภูมิ (Primary Root)
รากที่เกิดโดยตรงมาจากรากแรกเกิดของเอ็มบริโอ เป็นรากขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เป็นรากหลักของพืช รากนี้จะพุ่งตรงลงสู่ดินเรื่อยๆ โคนรากมีขนาดใหญ่และจะเรียวเล็กลงทางตอนปลาย ระบบรากแก้วจะมีรากแขนงเจริญออกมาจากเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของรากแก้ว ซึ่งเป็นระบบรากของพืชเมล็ดเปลือยและพืชใบเลี้ยงคู่ส่วนใหญ่


tap root

ลำต้นที่เปลี่ยนรูปร่างไป (Modified Stem)
ลำต้นที่ทำหน้าที่อื่นนอกจากหน้าที่หลัก
ลำต้นบนดิน  (Aerial  Stems)
ลำต้นคล้ายใบ (Phylloclade) 
ส่วนของลำต้นที่แผ่แบนคล้ายใบและมีคลอโรฟิลล์ เช่น ต้นกระถินณรงค์ กระถินเทพา สลัดได ส่วนลำต้นสังเคราะห์แสง (photosynthetic stem) เป็นลำต้นที่มีคลอโรฟิลล์สังเคราะห์แสงได้ เช่นลำต้นพญาไร้ใบ กระบองเพชร


photosynthetic stem

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556



ใบหรือใบแท้ (foliage leaf) เป็นใบที่มีคลอโรฟิลล์ ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง คายน้ำและหายใจ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ แผ่นใบ (blade หรือ lamina) และ ก้านใบ (petiole หรือ leaf stalk) นอกจากนี้พืชบางชนิดอาจมีหูใบ (stipule) อยู่ข้างก้านใบ แผ่นใบประกอบด้วยเส้นใบ (vein) ซึ่งเป็นกลุ่มเนื้อเยื่อท่อลำเลียง (vascular tissue) ทำหน้าที่ลำเลียงธาตุอาหาร น้ำ และช่วยให้แผ่นใบคงรูปอยู่ได้



ส่วนต่างๆของดอกไม้  (Parts of Flower)flower outline
ฐานรองดอก (Receptacle) เป็นส่วนปลายสุดของก้านดอก โครงสร้างนี้ใหญ่กว่าก้านใบ มีทั้งรูปแบบ เว้ารูปถ้วย หรือโค้งนูนก้าน
ดอก (
Peduncle) ทำหน้าที่ชูดอกให้ติดกับกิ่ง

กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้ามา ส่วนมากมีขนาดใหญ่ มีรูปร่างและสีสันสวยงาม

กลีบเลี้ยง (Sepal) อยู่ชั้นนอกสุด มักมีขนาดเล็ก มีสีเขียว ทำหน้าที่ห่อหุ้มดอก เพื่อป้องกันอันตรายแก่ดอกตูม



fruits

ผล (Fruits)
คือ รังไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ (fertilization) แล้วเจริญเติบโตเต็มที่ อาจมีบางส่วนของดอกเจริญมาด้วย เช่น ฐานรองดอก กลีบเลี้ยง ภายในมีเมล็ดหรือไม่มีก็ได้ สำหรับผลที่เกิดจากรังไข่ที่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ และไม่มีเมล็ด เรียกว่า ผลลม (parthenocarpic fruit)  ประเภทของผล / ชนิดของผล

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

   BIOLOGY


                       ชีววิทยา (อังกฤษBiology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และ อนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล