.....ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก ชีววิทยา Biology ของนายศรีสุทัศ กุลชาติ คับ.....

อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)



BIOLOGY

อนุกรมวิธานพืชหรือการจัดจำแนกพวกพืช เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการจัดพืชออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ โดยอาศัยลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกัน พืชที่มีลักษณะคล้ายกันจึงจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันหรือกลุ่มที่ใกล้เคียงกัน
การจัดจำแนกพวกพืชนี้ ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ การระบุ (identification), การตั้งชื่อ (nomenclature) และการจำแนก (classification) การระบุเป็นการกำหนดว่าพืชที่นำมาศึกษานั้นเป็นพืชชนิดใด เมื่อนำส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ใบ, ดอก, ราก มาเปรียบเทียบกับพืชที่ได้มีการศึกษา ไว้แล้ว การตั้งชื่อเป็นการให้ชื่อที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การตั้งชื่อพืชหรือกลุ่มพืชที่นำมาศึกษา ส่วนการจำแนกพืชนั้นเป็นการจัดรวบรวมพืชหรือกลุ่มพืชออกเป็นลำดับ ตามที่ได้มีการจัดแบ่งไว้แล้ว

วิสัยพืช (Plant Habit)
ส่วนประกอบของพืช (Parts of Plant)


วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

   BIOLOGY


                       ชีววิทยา (อังกฤษBiology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และ อนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล




ความหลากหลายทางชีวภาพ

       ในโลกของเรานี้มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งจุลินทรีย์พืืชและสัตว์นับล้านๆชนิด แต่ละชนิดมีจำนวนมากที่ได้วิวัฒนาการจนมีลักษณะเฉพาะ มาเป็นเวลาหลายพันล้านปีแล้ว บางชนิดมีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม แม้แต่ในบริเวณที่มีีภูมิอากาศเลวร้ายก็ยังมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่หลากหลายชนิด

       ไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดใดบนโลกนี้ที่จะมีชีวิตรอดอยู่ได้โดยลำพังสิ่งมีชีวิตทั้งปวงต้องอาศัยซึ่งกันและกัน

       ในศตวรรณนี้มนุษย์ได้ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในอัตราทน่าวิตกยิ่ง การสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิดอยู่ในระดับที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน จำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์จะต้องมี ความรู้ความเข้าใจถึงความหลาก หลายทางชีวภาพและให้ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ










อนุกรมวิธาน (Taxonomy หรือ Systematics)เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจํ าแนกพันธุ์คือ การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะศึกษาในด้านต่าง ๆ 3 ลักษณะ ได้แก่

       1. การจัดจํ าแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ในลํ าดับขั้นต่าง ๆ (Classification)

       2. การตรวจสอบหาชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องของสิ่งมีชีวิต (Identification)

       3. การกํ าหนดชื่อที่เป็นสากลของหมวดหมู่และชนิดของสิ่งมีชีวิต (Nomenclature) 



   การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต จะจัดเป็นลําดับขั้นโดยเริ่มด้วยการจัดเป็นหมวดหมู่ใหญ่ก่อน แล้วแต่ละหมู่ใหญ่ก็จําแนกออกไปเป็นหมู่ย่อยลงไปเรื่อย ๆ ในแต่ลํ าดับขั้น (taxon) จะมีชื่อ เรียกกํากับ        ลําดับขั้นสูงสุดหรือหมู่ใหญ่ที่สุดของสิ่งมีชีวิต คือ อาณาจักร (Kingdom) รองลงมาเป็นไฟลัม (phylum) สําหรับพืชใช้ดิวิชัน (Division) ไฟลัมหรือดิวิชันหนึ่ง ๆ แบ่งเป็นหลายคลาส (Class) แต่ละคลาสแบ่งเป็นหลาย ๆ ออร์เดอร์ (Order) ในแต่ละออร์เดอร์มีหลายแฟมิลี (Family)แฟมิลีหนึ่ง ๆ แบ่ง เป็นหลายจีนัส (Genus) และในแต่ละจีนัสก็มีหลายสปิชีส์ (Species) ดังนั้น ลําดับขั้นของหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต (taxonomic category) จะเขียนเรียงลําดับจากขั้นสูงสุดลดหลั่นมาขั้นตํ่า ดังนี้


ี้
     อาณาจักร (Kingdom)
          ไฟลัมหรือดิวิชัน (Phylum or Division)
               คลาส (Class)
                    ออร์เดอร์ (Order)
                         แฟมิลี (Family)
                              จีนัส (Genus)
                                   สปิชีส์ (Species)




1. ชื่อพื้นเมือง
         เรียกตามท้องถิ่น 
        2. ชื่อสามัญ (Common name)
        คือชื่อที่เรียกกันทั่วไปในการใช้ชื่ออาจให้ชื่อตามลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น ต้นแปรงขวด ว่านหางจระเข้ หรืออาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา มันฝรั่ง หรืออาจเรียกตามชื่อที่อยู่ เช่น ดาวทะเล ทากบก นอกจากนี้ในแต่ละถิ่นยังเรียกชื่อต่างกันเช่น แมลงปอ ภาคใต้เรียกว่า "แมงพี้" ภาคเหนือเรียก "แมงกะบี้" เป็นต้น
        3. ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)        เป็นชื่อที่กำหนดขึ้นตามหลักสากลและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวิทยาศาสตร์ทั่วไปลินเนียสเป็นผู้ริเริ่มการใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เป็นคนแรก โดยกำหนดให้สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยชื่อ 2 ชื่อ
        ชื่อแรกคือ "จีนัส" และชื่อที่ 2 คือ "สปีชีส์" การเรียกชื่อซึ่งประกอบด้วยชื่อ 2 ชื่อ เรียกว่า "การตั้งชื่อแบบทวินาม (binomial nomenclature)" ซึ่งจัดว่าเป็นชื่อวิทยาศาสตร์
 หลักในการตั้งชื่อสากลสิ่งมีชีวิต

- ใช้การตั้งตามหลัก Binomial System ของ คาโรลัส ลินเนียส
- (ICZN)Zoological Nomenclature-หลักในการตั้งชื่อสัตว์
- (ICBN)Botanical Nomenclature-หลักในการตั้งชื่อพืช

       Binomial System แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ
- ส่วนของชื่อสกุล (Genus) - Generic name 
- ส่วนของชื่อสปีชีส์ (Species) - Specific name

กฏการตั้งชื่อ
        1. ชื่อพืชและสัตว์ต้องแยกกันอย่างชัดเจน 
        2. มีชื่อที่ถูกต้องเพียงชื่อเดียวเท่านั้น 
        3. เป็นภาษาลาติน (เนื่องจากว่าภาษาลาตินเป็นภาษาที่ตายแล้ว นั่นหมายถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงของคำ ทำให้มีความมั่นคงไม่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา) 
        4. การเขียนหรือพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์ ต้องต่างจากตัวอื่น คือ ตัวเอน, ตัวหนา, ขีดเส้นใต้ เช่น Homo sapiens (คน)
        5. จะใช้ชื่อ Genus หรือ species ซ้ำกันไม่ได้
        6. ประกอบด้วยคำ 2 คำเสมอ คือ 
            - ในส่วนคำแรกจะเป็น ชื่อสกุล (Genus) - เป็นตัวพิมพ์ ตัวอักษรแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ เป็นภาษาลาติน 
            - ในส่วนคำหลังจะเป็น ชื่อสปีชีส์ (Species) - เป็นตัวพิมพ์เล็กหมด เป็นภาษาลาติน เป็นคนเดียวหรือคำผสม 
        * หมายเหตุ * ในส่วนของชื่อสปีชีส์ ถ้าหากลงท้ายด้วย spp. หมายถึง มีอยู่หลาย species แต่ถ้าหากลงท้ายด้วย sp. หมายถึง มีอยู่ species เดียว 
        7. ชื่อผู้ตั้ง นำด้วยตัวใหญ่ ไว้ด้านหลัง เช่น Carirosquilla thailandensis Naiyanetr, 1992 
            Carirosquilla thailandensis คือ Species ของสิ่งมีชีวิต
            Carirosquilla คือส่วนของ Genus 
            thailandensis คือส่วนของ specific epithet 
            Naiyanetr คือชื่อผู้ตั้ง 
            1992 คือปีที่ค้นพบ

 หลักการตั้ง 
       1. ตั้งตามสถานที่พบ 
       2. ตั้งเป็นเกียรติให้บุคคลที่นับถือ เช่น Thaiphusa sirikit 
       3. ตั้งเป็นเกียรติให้คนที่พบ 
       4. ตั้งตามขนาดตัวอย่าง เช่น Pangasianodon gigas (ปลาบึก) (gigas = ใหญ่) 
       5. ตั้งตามลักษณะ เช่น Podoptamus rigil (ปู) (rigil = ยาม)

                                                   บุคคลสำคัญ

               3.[ :: Corolus Linnaeus ::]


  
[ :: Aristotle :: ]









ได้แบ่งสัตว์ออกเป็น 2 พวก คือ
       1. สัตว์มีกระดูกสันหลังและมีเลือดสีแดง (Enaima-Vertebrates) และแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ
1.1 พวกออกลูกเป็นไข่ (oviparous) ได้แก่ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน งู และ ปลา
1.2 พวกออกลูกเป็นตัว (viviparous) ได้แก่ คน ปลาวาฬ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทั่วไป
        2. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและไม่มีเลือดสีแดง (Anaima - Invertebrate) แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
           1. พวกปลาหมึก (cephalopods)
           2. พวกกุ้ง กั้ง ปู (crustaceans)
           3. พวกแมลง (insects) และแมงมุม(spiders)
           4. พวกหอย (mollusks)และดาวทะเล(echinoderms)
           5. พวกฟองน้ำ (sponge) แมงกะพรุน ปะการัง ดอกไม้ทะเล (coelenterate)
           นอกจากนี้ อาริสโตเติล ยังได้แบ่งพืชเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะและขนาดคือ
        1. พวกไม้เนื้ออ่อน และไม้ล้มลุก (Herbs)
        2. ไม้พุ่ม (shurbs) มีเนื้อแข็งไม่เป็นลำต้นตรงขี้นไป และมีการแตกกิ่งก้านมาก
        3. ไม้ใหญ่ (trees)         มีเนื้อแข็งมีขนาดใหญ่และมีลักษณะของลำต้นตรงขึ้นไปแล้วจึงแตกกิ่งก้านสาขาที่ตอนบน


                                              [ :: John Ray : ]




ปี ค.ศ. 1627-1705 )
          นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นผู้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับพืชและได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับพืช ชื่อ "historia plantarum"ซึ่งเป็นคนแรก ที่แบ่งพืชออกเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่
         นอกจากนี้ยังเป็นคนแรก ที่นำคำว่า "species" มาใช้ทางชีววิทยา


                                          [ :: Corolus Linnaeus ::]





              นักชีววิทยาชาวสวีเดน เป็นผู้วางรากฐานในการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต และได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งการจำแนกชั้นสิ่งมีชีวิตยุคใหม่" หรือ  "บิดาแห่งวิชาอนุกรมวิธาน(Father of Modern Classification) "ซึ่งได้นำภาษาลาติน 2 ชื่อ มาใช้ในการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิต ซึ่งเรียกว่า binonial  nomenclature โดยชื่อแรกเป็นชื่อสกุล หรือจีนัส (generic name) และชื่อหลังเป็นชื่อตัวหรือสปีชีส์ (specific name)และวิธีการนี้ก็ยังใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาพืชและเกสรตัวผู้ และใช้เกสรตัวผู้ในการแบ่งชนิดของพืชดอก และยังได้แบ่งสัตว์ออกเป็น 6 class คือ

       1. class mamalia ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
       2. class aves ได้แก่ นกชนิดต่าง ๆ
       3. class amphia ได้แก่ สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก และสัตว์เลื้อยคลาน
       4. class pisecs ได้แก่ ปลาชนิดต่าง ๆ
       5. class insecta ได้แก่ แมลง
       6. class vermes ได้แก่ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังทุกชนิด


ผู้จัดทำ


บรรณานุกรม - หนังสือสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ชีววิทยา 


เล่ม 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6, สสวท.

        - http://dit.dru.ac.th/biology/taxonomy.html

        - http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-311.html

        - http://www.magicit.net/biology/site/index.html









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น