.....ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก ชีววิทยา Biology ของนายศรีสุทัศ กุลชาติ คับ.....

อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy)



BIOLOGY

อนุกรมวิธานพืชหรือการจัดจำแนกพวกพืช เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการจัดพืชออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ โดยอาศัยลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกัน พืชที่มีลักษณะคล้ายกันจึงจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันหรือกลุ่มที่ใกล้เคียงกัน
การจัดจำแนกพวกพืชนี้ ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ การระบุ (identification), การตั้งชื่อ (nomenclature) และการจำแนก (classification) การระบุเป็นการกำหนดว่าพืชที่นำมาศึกษานั้นเป็นพืชชนิดใด เมื่อนำส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ใบ, ดอก, ราก มาเปรียบเทียบกับพืชที่ได้มีการศึกษา ไว้แล้ว การตั้งชื่อเป็นการให้ชื่อที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การตั้งชื่อพืชหรือกลุ่มพืชที่นำมาศึกษา ส่วนการจำแนกพืชนั้นเป็นการจัดรวบรวมพืชหรือกลุ่มพืชออกเป็นลำดับ ตามที่ได้มีการจัดแบ่งไว้แล้ว

วิสัยพืช (Plant Habit)
ส่วนประกอบของพืช (Parts of Plant)


วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


วิสัยพืช (Plant Habit)
ไม้เถา / ไม้ล้มลุก / ไม้พุ่ม / ไม้ต้น
ลักษณะวิสัยของพืช คือลักษณะของลำต้น เป็นอวัยวะของพืชที่เจริญมาจากส่วนของเอ็มบริโอที่อยู่เหนือรากแรกเกิดภายในเมล็ด โดยเจริญมาจากส่วนของลำต้นเหนือใบเลี้ยง (epicotyl) ซึ่งมียอดแรกเกิด (plumule) เจริญแบ่งเซลล์ไปเรื่อยๆ ทำให้ลำต้นสูงขึ้นและเกิดยอดใหม่ รวมทั้งลำต้นส่วนใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl) ด้วย ลำต้นส่วนใหญ่เจริญขึ้นสู่อากาศในทิศทางตรงข้ามกับแรงดึงดูดของโลก ทำหน้าที่หลักของลำต้น ได้แก่ สร้างใบ ค้ำกิ่งก้านสาขาให้ใบได้รับแสง เป็นทางลำเลียงน้ำและธาตุอาหารจากใบไปสู่ส่วนต่างๆ ของพืช และสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ นอกจากนี้ลำต้นยังทำหน้าที่พิเศษอื่นๆ เช่น สะสมอาหาร สังเคราะห์แสง ดู <ลำต้นที่ทำหน้าที่พิเศษหรือเปลี่ยนรูปร่างไป>
ลักษณะวิสัย แบ่งเป็นไม้ล้มลุก (herb) ซึ่งอาจเป็นมีอายุปีเดียว (annual plant) สองปี (biennial plant) หรือพืชหลายปี (perennial plant) ก็ได้ ส่วนพืชที่มีเนื้อไม้ (woody plant) ที่ลำต้นมีกลุ่มเนื้อเยื่อที่ให้ความแข็งแรง อายุการเจริญเติบโตมีช่วงยาวกว่าไม้ล้มลุก เช่นไม้พุ่ม (shrub) ไม้ต้น (tree)  ส่วนไม้เถาหรือไม้เลื้อย (climber)
มีทั้งแบบล้มลุก และมีเนื้อไม้
climber


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น